ไข่มุกเลี้ยง ไข่มุกธรรมชาติ ต่างกันอย่างไร?

Last updated: 11 ส.ค. 2566  |  34 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไข่มุกเลี้ยง ไข่มุกธรรมชาติ ต่างกันอย่างไร?

ไข่มุกเลี้ยง (Cultured Pearl) คือไข่มุกที่มีมนุษย์เข้าไปแทรกแซงในกระบวนการก่อรูปไข่มุก (Pearl Forming) นั่นเอง ลักษณะของไข่มุกเลี้ยงมีดังนี้ คือ

  • สายพันธุ์ (Species): การเพาะเลี้ยงไข่มุกเพื่อการพาณิชย์นั้น นิยมเลี้ยงในหอยสายพันธุ์ตลาดเช่น หอยสายพันธุ์น้ำเค็ม Pinctada Maxima ที่ให้ไข่มุก South Sea, สายพันธุ์ Pinctada Magaritifera ที่ให้ไข่มุก Tahitian Pearl, สายพันธุ์ Pinctada Fucata ที่ให้ไข่มุก Akoya และสายพันธุ์นำ้จืดสายพันธุ์ Hyriopsis Cumingii ที่ให้ไข่มุก Freshwater Pearls
  • ระยะเวลาในการเลี้ยง: โดยปกติการเลี้ยงไข่มุกเลี้ยงนั้นจะใช้เวลา 1-3 ปี ก็สามารถเก็บเกี่ยว (Havesting) และนำไปจำหน่ายได้
  • โครงสร้างภายในเม็ดมุก (Internal structure): โครงสร้างภายในของไข่มุกเลี้ยงในระบบการเลี้ยงแบบหอย 1 ตัว มุก 1 เม็ดนั้น จะประกอบไปด้วยแกน (Bead Nucleus) ที่มนุษย์ปลูกถ่ายเข้าไปในตัวหอย จากนั้นแกนจะถูกห่อหุ้มด้วยเนเคอร์ (Nacre) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ แคลเซียมคาร์บอเนตในรูปแบบอาราโกไนต์ คริสตัล (Aragonite Crystal) และโปรตีน Conchiolin ด้วยลักษณะเช่นนี้เราจึงจำแนกไข่มุกเลี้ยงไว้ในประเภท Nacreous Pearl นั่นเอง
  • ความเงาวาว (Luster): ด้วยโครงสร้างดังกล่าว จึงทำให้ไข่มุกเลี้ยงนั้นมีความเงาวาว (Luster) สูง และมีสีเหลือบ (Overtone) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัว (Characteristic) อันโดดเด่นของไข่มุกเลี้ยง
  • ความหายาก(Rarity): ด้วยผลผลิตไข่มุกเลี้ยงกว่า 5,000 ตันต่อปีทั่วโลก จึงทำให้ไข่มุกเลี้ยงนั้นซื้อหาได้ง่าย นอกจากไข่มุกเลี้ยงจะถูกนำมาทำเป็นเครื่องประดับแล้ว ไข่มุกเลี้ยงยังถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและยาอีกด้วย
  • ราคา (Price): ไข่มุกเลี้ยงนั้นซื้อขายกันเป็น Momme (Mom.) การพิจารณาในเรื่องราคาของไข่มุกเลี้ยงนั้น จะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นที่ตั้ง หากพิจารณาในแง่ของการนำไข่มุกไปใช้เป็นเครื่องประดับแล้วละก็ ปัจจัยด้านราคานั้นจะแปรผันไปตาม เกรดของไข่มุก ยิ่งไข่มุกมีคุณภาพสูง สนนราคาก็จะสูงตามไปด้วย
ไข่มุกธรรมชาติ (Natural Pearl) คือไข่มุกที่ไม่มีมนุษย์เข้าไปแทรกแซง ในกระบวนการก่อรูปของไข่มุก (Pearl Forming) นั่นเอง
  • สายพันธุ์ (Species): โดยทั่วไปหอยเกือบทุกชนิดสามารถให้ไข่มุกได้ แต่มีเพียงแค่ 20 สายพันธุ์เท่านั้นที่นิยมซื้อขายกันในตลาดไข่มุก โดยสายพันธุ์หอยยอดนิยมที่ให้ไข่มุกธรรมชาติ อาทิเช่น Melo Melo ให้ไข่มุกเมโล, Strombus Gigas ให้ไข่มุก Conch Pearl, Haliotis Asinina ให้ไข่มุก Abalone Pearl เป็นต้น
  • ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อรูป: สำหรับไข่มุกธรรมชาติ อาจใช้เวลาในการก่อรูปยาวนานถึง 20-30 ปีในสภาวะที่ไม่ไร้มนุษย์รบกวน
  • โครงสร้างภายในเม็ดมุก (Internal structure): โครงสร้างของไข่มุกธรรมชาตินั้นไม่ได้มีเนเคอร์ (Non Nacreous Pearl) แบบไข่มุกเลี้ยง ชั้นไข่มุกธรรมชาติไม่ได้เกิดจากแคลเซียมคาร์บอเนตในรูปแบบอาราโกไนต์ คริสตัล แต่เกิดจากแคลไซต์ (Calcite) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของแคลเซียมคาร์บาเนตเรียงกันเป็นชั้น ว่ากันตามจริงแล้วโครงสร้างเช่นนี้ไม่นับว่าเป็นไข่มุกเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากถูกจำแนกว่าเป็น Calcareous Concretions
  • พื้นผิวของไข่: ไข่มุกธรรมชาตินั้น มีความเรียบเนียน ดูนุ่มนวลเหมือนกับกระเบื้องเคลือบ คุณลักษณะนี้เรียกว่า Porcellaneous Luster แต่ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของไข่มุกธรรมชาติคือ เปลวไฟ (Flame Structure) ลายเปลวไฟบนไข่มุกนั้นจะมีลักษณะเป็นริ้วคล้ายเปลวไฟกำลังลุกโชนจากภายในออกสู่ภายนอก ยิ่งเปลวไฟ มีความเข้มและชัดเจนมากเท่าไรก็ยิ่งเป็นที่ต้องการของท้องตลาดมากขึ้นเท่านั้น
  • ความหายาก(Rarity): ไข่มุกธรรมชาตินั้นขึ้นชื่อว่าเป็นอัญมณีอินทรีย์ที่หายากที่สุดในโลก เพราะไข่มุกธรรมชาติที่สวยงามนั้น มีโอกาสพบเจอในแม่หอย เพียงแค่หนึ่งในพัน หรือ หนึ่งในหมื่นตัวเท่านั้น
  • ราคา (Price): ไข่มุกธรรมชาตินั้นซื้อขายกันเป็นกะรัต (Carat) ด้วยความหายาก จึงทำให้สนนราคาของไข่มุกธรรมชาติสูงลิบลิ่วเมื่อเทียบกับไข่มุกเลี้ยง

เอาละครับ หวังว่าสาระน่ารู้ที่พี่พรายนำมาฝากในวันนี้จะถูกใจบรรดา Pearl Lovers ทั้งหลายของ PAKASIA นะครับ ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์ ช่วยกด Like กด Share ให้พี่พรายด้วยนะครับ ถ้าท่านมีข้อสงสัยประการใดสอบถามพี่พรายเข้ามาได้นะครับ ตามช่องทางดังนี้ครับ

Line id : @mookdee
Tel :  075-810-028
IG: pakasia_pearls
facebook: Pakasiaa Prime
www.pakasiapearl.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้